โรคท้องเสีย
ท้องเสียแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ประเภทแรก คือ อาการท้องเสียเนื่องจากได้รับสารพิษจากเชื้อ
ประเภทที่สอง คือ อาการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ
ส่วนอาการท้องเสียประเภทสุดท้าย ได้แก่ ท้องเสียธรรมดาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อ อาการท้องเสียทั้งสามประเภทนี้จะมีลักษณะอาการ วิธีการรักษา และการปฏิบัติตนที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะทราบเนื่องจากถ้าปฏิบัติตนไม่ถูกต้องแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ถ้าเป็นการท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่มาจากเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและถ่ายเหลวหลังจากรับประทานอาหารประมาณ 2-4 ชั่วโมงเรียกว่ากินเข้าไปไม่นานก็มีอาการแล้ว แต่มักจะไม่มีไข้สำหรับการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อนั้นผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ร่วมกับการถ่ายเหลวซึ่งลักษณะของอุจจาระจะแปลกไปจากท้องเสียทั่วไป เช่น ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด บางรายอุจจาระจะคล้ายน้ำซาวข้าวและถ่ายพุ่ง หรือบางรายอาจถ่ายออกมามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เช่น เหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า เป็นต้น แต่ถ้ามีอาการท้องเสียเพียงแค่ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีอาการดังที่กล่าวไว้ในการท้องเสียสองประเภทแรกก็จะเป็นการท้องเสียธรรมดา
เกิดจากการติดเชื้อบิดมีตัว หรือเชื้ออะมีบา ซึ่งเป็นเชื้อบิดที่รู้จักกันดี มักจะทำให้มีไข้สูง ปวดท้องมาก ถ่ายเป็นน้ำมากและบ่อย อาจเห็นอุจจาระมีเลือดปน ตรวจอุจจาระจะพบตัวเชื้อซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือตรวจพบไข่ของมัน ร่วมกับพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
โรคบิดไม่มีตัว เกิดจากเชื้อชิเกลลาซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มักจะมีอาการไข้สูงมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก กลิ่นอุจจาระจะมีกลิ่นเหมือนหัวกุ้งเน่า บิดชนิดนี้อาจทำให้มีอาการชักได้ง่ายเพราะเกิดได้รวดเร็วมากจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
ท้องเสียในเด็กทารก และเด็กโตอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดท้องเสียในเด็ก อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจเกิดจากเชื้อที่ทำให้เป็นไข้หวัด ต่อมาเคลื่อนลงกระเพาะลำไส้ ก็กลายเป็นหวัดในกระเพาะลำไส้ ซึ่งทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดไปจากปกติ ไม่สามารถย่อยอาหารได้ เกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย
กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อาหารเป็นพิษ เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน อย่างเฉียบพลันและมักรุนแรง มักเกิดภายหลังรับประทานอาหารได้สัก 1-2 ชั่วโมง
ท้องเสียเนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยบางชนิด ดังเช่นในคนเอเซียจำนวนไม่น้อย ที่เกิดมาขาดสารเอนซัยม์ที่จะต้องใช้ย่อยน้ำตาลในนมวัว รับประทานนมวัวทีไรก็ท้องเสียทุกที หรือเด็กที่หายจากอาการท้องเสียใหม่ๆ ร่างกายยังไม่ฟื้นพอที่จะสร้างเอนซัยม์ตัวนี้ เด็กก็จะท้องเสียหากรับประทานนมวัวเข้าไป ทั้งๆที่เมื่อก่อนรับประทานได้
แพ้อาหาร ต้องแยกจากพวกที่เกิดมาไม่มีน้ำย่อยสำหรับอาหารบางชนิดให้ดี เพราะอาการเหมือนกันมาก แต่พวกนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นผื่น หรือหายใจหอบ หรือมีลักษณะขาดอาหารก็เป็นได้ พวกนี้ไม่ได้ขาดน้ำย่อย แต่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารนั้นๆ แต่ละคนก็จะแพ้อาหารแตกต่างกันไป บางคนแพ้อาหารที่ทำจากนมวัว บางคนแพ้อาหารที่ทำจากเนื้อปู หรือบางคนแพ้ส้ม เป็นต้น
สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้ เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย
การติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
โรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหารบางชนิด โรคลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่อาจทำให้มีการหลั่งนํ้าออกมามากกว่าปกติ จนเกิดท้องเดินได้ ท้องเสียบางครั้งเกิดมาจากลำไส้อักเสบ อาหารจึงไม่สามารถดูดซึมที่ลำไส้ได้ตามปกติ อุจจาระก็จะเหลวเป็นน้ำ
เกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารบอแรกซ์ หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ก็อาจเป็นสาเหตุให้ถ่ายเหลวได้เช่นกันอาการนอกจากอาการท้องเสียแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดท้อง ปวดถ่วงขณะถ่าย ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลียร่วมด้วย ถ้ามีอาการรุนแรง ร่างกายจะขาดน้ำและสารเกลือแร่ อาจทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย ตรวจพบว่าชีพจรเต้นเบา และหายใจหอบเหนื่อย
ลักษณะอาการเริ่มต้นของอาการขาดน้ำ ได้แก่ มีอาการซึม ปัสสาวะน้อยลง(ใช้ผ้าอ้อมน้อยกว่า 6 ผืนต่อวัน) ปากแห้ง น้ำตาไม่ค่อยมีเวลาร้องไห้ ในเด็กทารกหรือเด็กวัยหัดเดินจะเห็นมีรอยบุ๋มที่ศีรษะ
อาการขาดน้ำขั้นรุนแรง ได้แก่ เด็กมีอาการกระสับกระส่ายมากขึ้น เด็กอ่อนเพลียมากและนอนมากขึ้น ขอบตาหมองคล้ำ ตัวเย็น สีผิวของมือและเท้าผิดปกติ ผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่มีการปัสสาวะมานานแล้วหลายชั่วโมง
ประเภทแรก คือ อาการท้องเสียเนื่องจากได้รับสารพิษจากเชื้อ
ประเภทที่สอง คือ อาการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ
ส่วนอาการท้องเสียประเภทสุดท้าย ได้แก่ ท้องเสียธรรมดาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อ อาการท้องเสียทั้งสามประเภทนี้จะมีลักษณะอาการ วิธีการรักษา และการปฏิบัติตนที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะทราบเนื่องจากถ้าปฏิบัติตนไม่ถูกต้องแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ถ้าเป็นการท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่มาจากเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและถ่ายเหลวหลังจากรับประทานอาหารประมาณ 2-4 ชั่วโมงเรียกว่ากินเข้าไปไม่นานก็มีอาการแล้ว แต่มักจะไม่มีไข้สำหรับการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อนั้นผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ร่วมกับการถ่ายเหลวซึ่งลักษณะของอุจจาระจะแปลกไปจากท้องเสียทั่วไป เช่น ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด บางรายอุจจาระจะคล้ายน้ำซาวข้าวและถ่ายพุ่ง หรือบางรายอาจถ่ายออกมามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เช่น เหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า เป็นต้น แต่ถ้ามีอาการท้องเสียเพียงแค่ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีอาการดังที่กล่าวไว้ในการท้องเสียสองประเภทแรกก็จะเป็นการท้องเสียธรรมดา
เกิดจากการติดเชื้อบิดมีตัว หรือเชื้ออะมีบา ซึ่งเป็นเชื้อบิดที่รู้จักกันดี มักจะทำให้มีไข้สูง ปวดท้องมาก ถ่ายเป็นน้ำมากและบ่อย อาจเห็นอุจจาระมีเลือดปน ตรวจอุจจาระจะพบตัวเชื้อซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือตรวจพบไข่ของมัน ร่วมกับพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
โรคบิดไม่มีตัว เกิดจากเชื้อชิเกลลาซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มักจะมีอาการไข้สูงมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก กลิ่นอุจจาระจะมีกลิ่นเหมือนหัวกุ้งเน่า บิดชนิดนี้อาจทำให้มีอาการชักได้ง่ายเพราะเกิดได้รวดเร็วมากจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
ท้องเสียในเด็กทารก และเด็กโตอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดท้องเสียในเด็ก อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจเกิดจากเชื้อที่ทำให้เป็นไข้หวัด ต่อมาเคลื่อนลงกระเพาะลำไส้ ก็กลายเป็นหวัดในกระเพาะลำไส้ ซึ่งทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดไปจากปกติ ไม่สามารถย่อยอาหารได้ เกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย
กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อาหารเป็นพิษ เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน อย่างเฉียบพลันและมักรุนแรง มักเกิดภายหลังรับประทานอาหารได้สัก 1-2 ชั่วโมง
ท้องเสียเนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยบางชนิด ดังเช่นในคนเอเซียจำนวนไม่น้อย ที่เกิดมาขาดสารเอนซัยม์ที่จะต้องใช้ย่อยน้ำตาลในนมวัว รับประทานนมวัวทีไรก็ท้องเสียทุกที หรือเด็กที่หายจากอาการท้องเสียใหม่ๆ ร่างกายยังไม่ฟื้นพอที่จะสร้างเอนซัยม์ตัวนี้ เด็กก็จะท้องเสียหากรับประทานนมวัวเข้าไป ทั้งๆที่เมื่อก่อนรับประทานได้
แพ้อาหาร ต้องแยกจากพวกที่เกิดมาไม่มีน้ำย่อยสำหรับอาหารบางชนิดให้ดี เพราะอาการเหมือนกันมาก แต่พวกนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นผื่น หรือหายใจหอบ หรือมีลักษณะขาดอาหารก็เป็นได้ พวกนี้ไม่ได้ขาดน้ำย่อย แต่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารนั้นๆ แต่ละคนก็จะแพ้อาหารแตกต่างกันไป บางคนแพ้อาหารที่ทำจากนมวัว บางคนแพ้อาหารที่ทำจากเนื้อปู หรือบางคนแพ้ส้ม เป็นต้น
สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้ เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย
การติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
โรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหารบางชนิด โรคลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่อาจทำให้มีการหลั่งนํ้าออกมามากกว่าปกติ จนเกิดท้องเดินได้ ท้องเสียบางครั้งเกิดมาจากลำไส้อักเสบ อาหารจึงไม่สามารถดูดซึมที่ลำไส้ได้ตามปกติ อุจจาระก็จะเหลวเป็นน้ำ
เกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารบอแรกซ์ หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ก็อาจเป็นสาเหตุให้ถ่ายเหลวได้เช่นกันอาการนอกจากอาการท้องเสียแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดท้อง ปวดถ่วงขณะถ่าย ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลียร่วมด้วย ถ้ามีอาการรุนแรง ร่างกายจะขาดน้ำและสารเกลือแร่ อาจทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย ตรวจพบว่าชีพจรเต้นเบา และหายใจหอบเหนื่อย
ลักษณะอาการเริ่มต้นของอาการขาดน้ำ ได้แก่ มีอาการซึม ปัสสาวะน้อยลง(ใช้ผ้าอ้อมน้อยกว่า 6 ผืนต่อวัน) ปากแห้ง น้ำตาไม่ค่อยมีเวลาร้องไห้ ในเด็กทารกหรือเด็กวัยหัดเดินจะเห็นมีรอยบุ๋มที่ศีรษะ
อาการขาดน้ำขั้นรุนแรง ได้แก่ เด็กมีอาการกระสับกระส่ายมากขึ้น เด็กอ่อนเพลียมากและนอนมากขึ้น ขอบตาหมองคล้ำ ตัวเย็น สีผิวของมือและเท้าผิดปกติ ผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่มีการปัสสาวะมานานแล้วหลายชั่วโมง
ขมิ้นชัน | ||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
ฝรั่ง |
ชื่อวิทยาศาตร์ | Psidium guajava Linn. |
| |
ชื่อท้องถิ่น | จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่) มะก้วยก่า มะมั่น (ภาคเหนือ) มะกา (แม่ฮ่องสอน) |
| |
ลักษณะของพืช | ไม้ต้น สูง 3-9 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ถ้าแก่เปลือกต้นจะล่อนหลุด ใบเดี่ยว ดอกเป็นกระจุก กลีบดอกมีสีขาว ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด แก่จัดผิวผลสีเขียวอมเหลือง |
| |
ส่วนที่ใช้ทำยา | ใบสดและผลดิบ |
| |
สรรพคุณและวิธีใช้ | บรรเทาอาการท้องเสีย การที่ใบ ฝรั่งและผลดิบช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ เพราะทั้งใบและผลดิบมีสารแทนนิน รสฝาด แก้ท้องเสย ส่วนในใบยังมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลมได้ด้วย ใช้ใบ10-15 ใบคั่วพอเหลือง ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ให้เดือด10-15 นาที ดื่มครั้งละ 1/2 แก้วเมื่อมีอาการท้องเสีย จากนั้นให้ดื่มอีก 1-2 ครั้งระยะห่างกันครั้งละ 3 ชั่วโมง หรือจะใช้ผลหั่นตากแดด เอาเมล็ดออกบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1-1 1/2 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือดดื่มก็ได้ |
พลู |
ชื่อวิทยาศาตร์ | Piper betle Linn. | ||
| | ||
ชื่อท้องถิ่น | เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู - นราธิวาส) พลูจีน (ภาคกลาง) | ||
| | ||
ลักษณะของพืช | พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และมีปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น | ||
| | ||
ส่วนที่ใช้ทำยา | ใบสด | ||
| | ||
สรรพคุณ | รสเผ็ดเมา แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ขับ ลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า ใช้ภายนอก แก้ปวด บวม ฟกช้ำ ฆ่าเชื้อโรคหนองฝี วัณโรค แก้อาการอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้น้ำกัดเท้า แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้อง แก้ลูกอัณฑะยาน | ||
ข่า | |||
ชื่อวิทยาศาตร์ | Alpinia galanga Swartz |
| |
ชื่อท้องถิ่น | กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) |
| |
ลักษณะของพืช | ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม |
| |
ส่วนที่ใช้ทำยา | เหง้าสด |
| |
สรรพคุณและวิธีใช้ | ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น