วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ

โรคท้องเสีย เกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย และถ้ายิ่งเกิดกับเด็กอายุน้อยๆ ยิ่งมีความรุนแรงมากอาจถึงชีวิตได้ โรคท้องเสียเกิดมาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ การติดเชื้อบิดมีตัว ท้องเสียเนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยบางชนิด และสาเหตุสำคัญคือแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ อีกทั้งยังพบในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ พืช อากาศ และดิน เมื่อเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนมากับอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
                เนื่องด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงเกิดความตระหนักโยคิดหาสมุนไพร ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli โดยเลือกจากเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการท้องเสียได้ในที่มีนี้คณะผู้จัดทำเลือก ใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน และข่า โดยทำการศึกษา 2 ตอน คือ ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์และ ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน
ตอนที่ 1  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์
โดยเลี้ยงเชือบนเพลตอาหาร นำเชื้อที่เจริญบนเพลต มาใส่ในอาหารเหลว ทิ้งไว้ 18 ช.ม. นำเชื้อที่ได้จากอาหารเหลวมาสตรีก จากนั้นนำสมุนไพร 20 กรัมมาบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% 30cm3 ผ่านกระดาษกรอง หยดสารสกัดสมุนไพร 40 มิลลิตรลงบนดิท และนำมาวางไว้ในเพลตที่มีเชื้อที่สตรีกไว้ จากการทดลองพบว่า ใบฝรั่งสกัดด้วยวิธีสกัดสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เกิดพื้นที่เคลียโซนมากที่สุด รองลงมาคือ ใบพลู ขมิ้นชันและข่าไม่เกิดพื้นที่เคลียโซนแสดงให้เห็นว่าใบฝรั่งมีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coliหรือสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coliได้ดีที่สุด

ตอนที่ 2  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน
โดยเลี้ยงเชือบนเพลตอาหาร นำเชื้อที่เจริญบนเพลต มาใส่ในอาหารเหลว ทิ้งไว้ 18 ช.ม. นำเชื้อที่ได้จากอาหารเหลวมาสตรีก จากนั้นนำสมุนไพร 20 กรัมมาบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปสกัดด้วยน้ำร้อน 30cm3 ผ่านกระดาษกรอง หยดสารสกัดสมุนไพร 40 มิลลิตรลงบนดิท และนำมาวางไว้ในเพลตที่มีเชื้อที่สตรีกไว้ จากการทดลองพบว่า ใบฝรั่งสกัดด้วยวิธีสกัดสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เกิดพื้นที่เคลียโซนมากที่สุด รองลงมาคือ ใบพลู ขมิ้นชันและข่าไม่เกิดพื้นที่เคลียโซนแสดงให้เห็นว่าใบฝรั่งมีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coliหรือสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coliได้ดีที่สุด


บทที่ 1 บทนำ


ที่มาและความสำคัญ    -
                โรคท้องเสีย เกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย และถ้ายิ่งเกิดกับเด็กอายุน้อยๆ ยิ่งมีความรุนแรงมากอาจถึงชีวิตได้ โรคท้องเสียเกิดมาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ การติดเชื้อบิดมีตัว ท้องเสียเนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยบางชนิด และสาเหตุสำคัญคือแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ อีกทั้งยังพบในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ พืช อากาศ และดิน เมื่อเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนมากับอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
               
                เนื่องด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงคิดหาสมุนไพร ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli โดยเลือกจากเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการท้องเสียได้ในที่มีนี้คณะเลือก ใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน และข่า มาสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% และสกัดด้วยน้ำร้อนเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และนำสารสกัดที่ได้มายับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli เพื่อหาสารสกัดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแบคทีเรีย Escherichia coli
2. เพื่อศึกษาการยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli ด้วยสมุนไพร
3. เพื่อศึกษาการทำเจลล้างมือจากสารสกัดสมุนไพร

ตอนที่ 1  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์
สมมติฐาน
                สารสกัดจากสมุนไพรคือใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน และข่าด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% สามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli ได้แตกต่างกัน
ตัวแปรต้น
                สมุนไพร : ใบพลู   ใบฝรั่ง ขมิ้นชันและข่า
ตัวแปรตาม
                การเกิดพื้นที่เคลียโซนของสารสกัดจากสมุนไพรแต่ละชนิด
ตัวแปรควบคุม
                เวลาในการบ่มเชื้อ   ปริมาณสมุนไพร ปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์   ปริมาณสารสกัด


ตอนที่ 2  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน
สมมติฐาน
สารสกัดจากสมุนไพรคือใบพลู ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน และข่าด้วยน้ำร้อนสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli ได้แตกต่างกัน
ตัวแปรต้น
                สมุนไพร : ใบพลู   ใบฝรั่ง ขมิ้นชันและข่า
ตัวแปรตาม
                การเกิดพื้นที่เคลียโซนของสารสกัดจากสมุนไพรแต่ละชนิด
ตัวแปรควบคุม
                เวลาในการบ่มเชื้อ   ปริมาณสมุนไพร ปริมาณน้ำร้อน   ปริมาณสารสกัด


นิยามศัพท์เฉพาะ
พื้นที่เคลียโซน  คือ พื้นที่ที่สารสกัดสามารถไปยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coli ได้

ขอบเขตการศึกษา
ทำการศึกษาหาสมุนไพรทีสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli และผลิตเป็นเจลล้างมือ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง


โรคท้องเสีย
ท้องเสียแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ประเภทแรก คือ อาการท้องเสียเนื่องจากได้รับสารพิษจากเชื้อ
ประเภทที่สอง คือ อาการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ
ส่วนอาการท้องเสียประเภทสุดท้าย ได้แก่ ท้องเสียธรรมดาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อ อาการท้องเสียทั้งสามประเภทนี้จะมีลักษณะอาการ วิธีการรักษา และการปฏิบัติตนที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะทราบเนื่องจากถ้าปฏิบัติตนไม่ถูกต้องแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ถ้าเป็นการท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่มาจากเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและถ่ายเหลวหลังจากรับประทานอาหารประมาณ
2-4 ชั่วโมงเรียกว่ากินเข้าไปไม่นานก็มีอาการแล้ว แต่มักจะไม่มีไข้สำหรับการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อนั้นผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ร่วมกับการถ่ายเหลวซึ่งลักษณะของอุจจาระจะแปลกไปจากท้องเสียทั่วไป เช่น ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด บางรายอุจจาระจะคล้ายน้ำซาวข้าวและถ่ายพุ่ง หรือบางรายอาจถ่ายออกมามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เช่น เหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า เป็นต้น แต่ถ้ามีอาการท้องเสียเพียงแค่ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีอาการดังที่กล่าวไว้ในการท้องเสียสองประเภทแรกก็จะเป็นการท้องเสียธรรมดา
เกิดจากการติดเชื้อบิดมีตัว หรือเชื้ออะมีบา ซึ่งเป็นเชื้อบิดที่รู้จักกันดี มักจะทำให้มีไข้สูง ปวดท้องมาก ถ่ายเป็นน้ำมากและบ่อย อาจเห็นอุจจาระมีเลือดปน ตรวจอุจจาระจะพบตัวเชื้อซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือตรวจพบไข่ของมัน ร่วมกับพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
โรคบิดไม่มีตัว
เกิดจากเชื้อชิเกลลาซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มักจะมีอาการไข้สูงมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก กลิ่นอุจจาระจะมีกลิ่นเหมือนหัวกุ้งเน่า บิดชนิดนี้อาจทำให้มีอาการชักได้ง่ายเพราะเกิดได้รวดเร็วมากจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
ท้องเสียในเด็กทารก และเด็กโตอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรตา (
Rotavirus) ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดท้องเสียในเด็ก อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจเกิดจากเชื้อที่ทำให้เป็นไข้หวัด ต่อมาเคลื่อนลงกระเพาะลำไส้ ก็กลายเป็นหวัดในกระเพาะลำไส้ ซึ่งทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดไปจากปกติ ไม่สามารถย่อยอาหารได้ เกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย
กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อาหารเป็นพิษ เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน อย่างเฉียบพลันและมักรุนแรง มักเกิดภายหลังรับประทานอาหารได้สัก
1-2 ชั่วโมง
ท้องเสียเนื่องจากร่างกายขาดน้ำย่อยบางชนิด ดังเช่นในคนเอเซียจำนวนไม่น้อย ที่เกิดมาขาดสารเอนซัยม์ที่จะต้องใช้ย่อยน้ำตาลในนมวัว รับประทานนมวัวทีไรก็ท้องเสียทุกที หรือเด็กที่หายจากอาการท้องเสียใหม่ๆ ร่างกายยังไม่ฟื้นพอที่จะสร้างเอนซัยม์ตัวนี้ เด็กก็จะท้องเสียหากรับประทานนมวัวเข้าไป ทั้งๆที่เมื่อก่อนรับประทานได้
แพ้อาหาร ต้องแยกจากพวกที่เกิดมาไม่มีน้ำย่อยสำหรับอาหารบางชนิดให้ดี เพราะอาการเหมือนกันมาก แต่พวกนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นผื่น หรือหายใจหอบ หรือมีลักษณะขาดอาหารก็เป็นได้ พวกนี้ไม่ได้ขาดน้ำย่อย แต่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารนั้นๆ แต่ละคนก็จะแพ้อาหารแตกต่างกันไป บางคนแพ้อาหารที่ทำจากนมวัว บางคนแพ้อาหารที่ทำจากเนื้อปู หรือบางคนแพ้ส้ม เป็นต้น
สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้ เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย
การติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
โรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหารบางชนิด โรคลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่อาจทำให้มีการหลั่งนํ้าออกมามากกว่าปกติ จนเกิดท้องเดินได้ ท้องเสียบางครั้งเกิดมาจากลำไส้อักเสบ อาหารจึงไม่สามารถดูดซึมที่ลำไส้ได้ตามปกติ อุจจาระก็จะเหลวเป็นน้ำ
เกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารบอแรกซ์ หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ก็อาจเป็นสาเหตุให้ถ่ายเหลวได้เช่นกันอาการนอกจากอาการท้องเสียแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดท้อง ปวดถ่วงขณะถ่าย ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลียร่วมด้วย ถ้ามีอาการรุนแรง ร่างกายจะขาดน้ำและสารเกลือแร่ อาจทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย ตรวจพบว่าชีพจรเต้นเบา และหายใจหอบเหนื่อย
ลักษณะอาการเริ่มต้นของอาการขาดน้ำ
ได้แก่ มีอาการซึม ปัสสาวะน้อยลง
(ใช้ผ้าอ้อมน้อยกว่า 6 ผืนต่อวัน) ปากแห้ง น้ำตาไม่ค่อยมีเวลาร้องไห้ ในเด็กทารกหรือเด็กวัยหัดเดินจะเห็นมีรอยบุ๋มที่ศีรษะ
อาการขาดน้ำขั้นรุนแรง ได้แก่ เด็กมีอาการกระสับกระส่ายมากขึ้น เด็กอ่อนเพลียมากและนอนมากขึ้น ขอบตาหมองคล้ำ ตัวเย็น สีผิวของมือและเท้าผิดปกติ ผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่มีการปัสสาวะมานานแล้วหลายชั่วโมง

ขมิ้นชัน



ชื่อวิทยาศาตร์
Curcuma domestica Val.


ชื่อท้องถิ่น
ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่); ขมิ้นชัน (ภาคกลาง Peninsular); ขี้มิ้น หมิ้น (Peninsular); ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร); สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะของพืช
เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอม ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 5-8 ซม. ใบประดับสีเขียวอ่อน ๆ หรือสีขาว รูปหอกเรียงซ้อนกัน ใบประดับ 1 ใบ มี 2 ดอก ใบประดับย่อยรูปขอบขนานยาว 3-3.5 ซม. ด้านนอกมีขน กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายแยกเป็น 3 ส่วน เกสรผู้คล้ายกลีบดอก มีขน อับเรณูอยู่ที่ใกล้ ๆ ปลาย ท่อเกสรเมียเล็ก ยาว ยอดเกสรเมียรูปปากแตร เกลี้ยง รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ใบ


ส่วนที่ใช้ทำยา
เหง้าสดหรือแห้ง


สรรพคุณและวิธีใช้
1. แก้ท้องร่วง แก้บิด
- - ใช้หัวขมิ้นชันเผาไฟแล้วโขลกให้ละเอียด คั้นกับน้ำปูนใสรับประทานครั้งละ 1-2 ถ้วยชา

- - ตัดเอาแง่งขนาดพอควรล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำสุกเท่าตัวรับประทานครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง อาจเติมเกลือเล็กน้อยให้รับประทานง่ายขึ้น

2. แก้อาการท้องเดินที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค
- ใช้เหง้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ครั้งละ 1 กำมือ น้ำหนักโดยประมาณ สด 10-20 กรัม แห้งหนัก 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอประมาณ ต้มให้งวดเหลือ 1 ใน 3 แล้วเอาน้ำดื่ม วันละครั้ง
ฝรั่ง



ชื่อวิทยาศาตร์
Psidium guajava Linn.


ชื่อท้องถิ่น
จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่) มะก้วยก่า มะมั่น (ภาคเหนือ) มะกา (แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะของพืช
ไม้ต้น สูง 3-9 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ถ้าแก่เปลือกต้นจะล่อนหลุด ใบเดี่ยว ดอกเป็นกระจุก กลีบดอกมีสีขาว ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด แก่จัดผิวผลสีเขียวอมเหลือง


ส่วนที่ใช้ทำยา
ใบสดและผลดิบ


สรรพคุณและวิธีใช้
บรรเทาอาการท้องเสีย การที่ใบ ฝรั่งและผลดิบช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ เพราะทั้งใบและผลดิบมีสารแทนนิน รสฝาด แก้ท้องเสย ส่วนในใบยังมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลมได้ด้วย ใช้ใบ10-15 ใบคั่วพอเหลือง ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ให้เดือด10-15 นาที ดื่มครั้งละ 1/2 แก้วเมื่อมีอาการท้องเสีย จากนั้นให้ดื่มอีก 1-2 ครั้งระยะห่างกันครั้งละ 3 ชั่วโมง หรือจะใช้ผลหั่นตากแดด เอาเมล็ดออกบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1-1 1/2 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือดดื่มก็ได้





พลู



ชื่อวิทยาศาตร์
Piper betle Linn.


ชื่อท้องถิ่น
เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู - นราธิวาส) พลูจีน (ภาคกลาง)


ลักษณะของพืช
พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และมีปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น



ส่วนที่ใช้ทำยา
ใบสด


สรรพคุณ
รสเผ็ดเมา แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ขับ ลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า
ใช้ภายนอก แก้ปวด บวม ฟกช้ำ ฆ่าเชื้อโรคหนองฝี วัณโรค แก้อาการอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้น้ำกัดเท้า แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้อง แก้ลูกอัณฑะยาน


ข่า







ชื่อวิทยาศาตร์
Alpinia galanga Swartz


ชื่อท้องถิ่น
กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะของพืช
ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม


ส่วนที่ใช้ทำยา
เหง้าสด


สรรพคุณและวิธีใช้
ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

บทที่ 3 วิธีดำเนินการ

วัสดุอุปกรณ์                                                                     
1.1          บีกเกอร์
1.2          โกร่ง
1.3          เครื่องชั่งสาร
1.4          เขียง
1.5          มีด
1.6          แท่งแก้วคนสาร
1.7          กระดาษกรอง
1.8          กรวย
1.9          ขวดวัดปริมาตร
1.10            กระบอกตวง
1.11            เครื่องปั่นสาร
1.12            ขวดรูปชมพู่
1.13            จานเพาะเชื้อ
1.14            หลอดแยกสาร
1.15            ปากคีบ
1.16            ตะเกียงแอลกอฮอล์
1.17       ลูป
1.18        ดิท
1.19       ปิเปตต์






สารเคมี
1.1         น้ำกลั่น
1.2         Beef extract
1.3         Peptone
1.4         Agar
1.5         แอลกอฮอล์
1.6        สมุนไพร
1.7        Carbopol
1.8        Triethanolamine
1.9        น้ำหอม

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. กำหนดปัญหา หาสาเหตุ และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
       - ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย
Escherichia coli
     
 - ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารสมุนไพรที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli
      
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสกัดสารที่ดีที่สุดในการสกัดสารสมุนไพรที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียEscherichia coli
2. ดำเนินการทดลอง
         - วางแผนการดำเนินงาน
         - ติดต่อขอใช้ห้องปฏิบัติการในการทำงานวิจัย และ ขอแบคทีเรีย
Escherichia coli ที่บริสุทธิ์     
           จาก ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

         -
ขั้นตอนการทดสองแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ
                ส่วนที่ 1
: การเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย
                นำ Beef extract 3 กรัม Peptone 5 กรัม Agar 15 กรัม ผสมน้ำกลั่น 1ลิตร นำไปนิ่งฆ่าเชื้อที่ความดันไอ 1210C   นาน 15 นาที ทิ้งให้เย็นประมาน50 0C เทอาหารลงบนเพลตที่เตรียมไว้ นำเชื้อบริสุทธิ์มา ขีดลงบนเพลตที่มีอาหารอยู่ ทิ้งไว้ 18 ช.ม. นำเชื้อที่เจริญบนเพลต มาใส่ในอาหารเหลว(นำ Beef extract 3 กรัม Peptone 5 กรัม ผสมน้ำกลั่น 1ลิตร นำไปนิ่งฆ่าเชื้อที่ความดันไอ 1210C   นาน 15 นาที ทิ้งให้เย็นประมาน
50 0
C) ทิ้งไว้ 18 ช.ม. นำเชื้อที่ได้จากอาหารเหลวมาสตรีก เพื่อรอทดสอบต่อไป
                ส่วนที่ 2 : การสกัดสาร
-นำสมุนไพร 20 กรัมมาบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% 30cm3 ผ่านกระดาษกรอง หลังจากนั้นจัดเก็บสาร
   -นำสมุนไพร 20 กรัมมาบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปสกัดด้วย น้ำร้อน 30cm3
ผ่านกระดาษกรอง หลังจากนั้นจัดเก็บสาร


ส่วนที่ 3 : การดูผลการทดสอบ
                นำเชื้อในอาหารเหลวมาสตรีกลงบนเพลตอาหาร จากนั้นหยดสารสกัดสมุนไพร 40 มิลลิตรลงบนดิท และนำมาวางไว้ในเพลตที่มีเชื้อที่สตรีกไว้ หลังจากนั้นดูพื้นที่เคลียร์โซน และบันทึกผลการทดลอง


ส่วนที่ 4 : ทำเจลล้างมือ
                เตรียมบีกเกอร์2000 ซีซีเทน้ำบริสุทธิ์ 500ซีซี ผสมเอทิลแอลกอฮอล์ 95% เพื่อฆ่าเชื้อประมาณ 375 ซีซี แล้วค่อยๆ โปรยคาร์โบพอล 940 ราว 1.2 กรัม กวนให้กระจายตัวราว 30 นาที หรือใช้เครื่องกวนก็ได้ เพื่อให้เกิดเจล
ขั้นตอนต่อมาใส่สารสกัด 3 กรัม ก่อนใส่ไตรเอทาโนลามีน ปรับความข้นของเจล อีก 5 กรัม ใส่กลิ่นหัวเชื้อน้ำหอมหรือกลิ่นสมุนไพร 5 ซีซี คนให้เข้ากันก็จะได้เจลแอลกอฮอล์มาบรรจุขวด

3. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
    - โดยสารสกัดใดมีรัศมีของ Clear Zone มากที่สุด แสดงว่าสารสกัดนั้นสามารถยับยั้งการเจริญของ 
       แบคทีเรีย
Escherichia coli ได้ และเปรียบเทียบสารที่สกัดจากแอลกอฮอล์และน้ำร้อน
4. สรุปและประมวลผล

บทที่ 4 ผลการทดลอง


ตอนที่ 1 ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์

ตารางที่ 1 แสดงพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์


สมุนไพร สกัดหยาบโดยแอลกอฮอล์
พื้นที่เคลียโซน
ทดลองครั้งที่1
ทดลองครั้งที่ 2
ทดลองครั้งที่ 3
เฉลี่ย
ใบพลู
1.2
1.2
1.1
1.167
ใบฝรั่ง
1.3
1.4
1.2
1.3
ขมิ้นชัน
0
0
0
0
ข่า
0
0
0
0



ตอนที่ 2  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน

ตารางที่ 1 แสดงพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน

สมุนไพร สกัดด้วยนน้ำร้อน
พื้นที่เคลียโซน
ทดลองครั้งที่1
ทดลองครั้งที่ 2
ทดลองครั้งที่ 3
เฉลี่ย
ใบพลู
1.0
1.0
1.1
1.03
ใบฝรั่ง
1.2
1.1
1.15
1.15
ขมิ้นชัน
0
0
0
0
ข่า
0
0
0
0

บทที่ 5 วิเคราะและสรุปผลการทดลอง

ตอนที่ 1 ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์

แผนภูมิที่ 1 แสดพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบโดยเอทิลแอลกอฮอล์



               
               
จากการทดลอง 3 ครั้งพบว่า ใบฝรั่งสกัดด้วยวิธีสกัดหยาบโดยแอลกอฮอล์ เกิดพื้นที่เคลียโซนมากที่สุด รองลงมาคือ ใบพลู ขมิ้นชันและข่าไม่เกิดพื้นที่เคลียโซน










ตอนที่ 2  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน

แผนภูมิที่ 2 แสดพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน





จากการทดลอง 3 ครั้งพบว่า ใบฝรั่งสกัดด้วยน้ำร้อน เกิดพื้นที่เคลียโซนมากที่สุด รองลงมาคือ ใบพลู ขมิ้นชันและข่าไม่เกิดพื้นที่เคลียโซน


สรุปผลการทดลอง

ตอนที่ 1 ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยวิธีสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์
จากการทดลองพบว่า ใบฝรั่งสกัดด้วยวิธีสกัดสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เกิดพื้นที่เคลียโซนมากที่สุด รองลงมาคือ ใบพลู ขมิ้นชันและข่าไม่เกิดพื้นที่เคลียโซนแสดงให้เห็นว่าใบฝรั่งมีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coliหรือสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coliได้ดีที่สุด

ตอนที่ 2  ศึกษาพื้นที่เคลียโซนจากสารสกัดสมุนไพรด้วยน้ำร้อน
จากการทดลองพบว่า ใบฝรั่งสกัดด้วยน้ำร้อน เกิดพื้นที่เคลียโซนมากที่สุด รองลงมาคือ ใบพลู ขมิ้นชันและข่าไม่เกิดพื้นที่เคลียโซนแสดงให้เห็นว่าใบฝรั่งมีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coliหรือสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coliได้ดีที่สุด

หมายเหตุ
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากฝรั่งด้วยวิธีสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์และสกัดด้วยน้ำร้อน                           มีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coliหรือสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coliได้ดีที่สุดจึงเลือกสารสกัดจากใบฝรั่งเป็นสารยับยั้งแบคทีเรียEscherichia coli ในเจลล้างมือและที่เลือกสารสกัดใบฝรั่งสกัดด้วยวิธีสกัดหยาบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์เนื่องจากในเจลล้างมือมีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli
2. สามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ได้
3. สามารถป้องการระบาดของโรคท้องร่วงได้
4. การทำเจลล้างมือเป็นการป้องการระบาดของโรคท้องร่วงทางอ้อม
5. เป็นแนวทางในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
6. สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
7. เป็นแนวทางให้มีการศึกษาวิจัยและปรับปรุงและยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นในอนาคต


บรรณานุกรม

http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:HjFNxcEQRMgJ:kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/KC4106037.pdf+%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2+e.coli%2Battc&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESjT1BUkmvE71PTfPRdWNP3kwiHwvV_jUz9Z7NaCA97dvZ09Rp0K8QnP48HSZnGgeOfwnkkAAH9ZbTmYDwRivJgLlDFEpQeS8NdzTnRtgXtNCNgWWymAWiKvtR43okUAOfPkGHmE&sig=AHIEtbRjDJBNRVVy3M4GnM1AbbVi3pQEVA
สืบค้นวันที่...  วันศุกร์ ที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2553

สืบค้นวันที่...  วันศุกร์ ที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2553

สืบค้นวันที่...  วันศุกร์ ที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2553

 สืบค้นวันที่...  วันศุกร์ ที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2553

สืบค้นวันที่...  วันศุกร์ ที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2553

http://www.komchadluek.net/detail/20090829/26224/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%882009.html
สืบค้นวันที่...  วันศุกร์ ที่  10  กันยายน  พ.ศ. 2553

สืบค้นวันที่...  วันพุธ ที่  22  กันยายน  พ.ศ. 2553

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2
สืบค้นวันที่...  วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553